หลายคนอาจจะสงสัยคำว่า Trend นั้นมาจากไหนและเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนกำหนดว่ามันควรจะเป็นอย่างทำไมเสื้อตัวนี้อยู่ดีๆ ถึงฮิต บางคนอาจจะชายตามองไปที่รันเวย์แล้วคิดมันไม่น่าจะมาจากที่นี่เพราะเสื้อผ้าเหล่านี้ดูเกินความเป็นจริงที่จะสามารถนำมาใส่ในชีวิตจริง ดังนั้นคำว่า Trend น่าจะมาจาก Influencer หรือ Street Fasion ใช่หรือไม่ วันนี้เราเลยขอเอาเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอกัน
แม้ว่ามีคนบอกว่า Trend จะเปลี่ยนทุก 6 เดือน แต่จริงๆ แล้ว Hendrik Vejilgaard ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Anatomy of a Trend ได้วิเคราะห์ว่าจริงๆแล้วเทรนด์หนึ่งเทรนด์ จะมีอายุอย่างน้อย 2 ถึง 5 ปี เหมือนกับห่วงโซ่อาหารทางแฟชั่น ที่มันเริ่มต้นจาก Endoser จากเหล่าคนดังได้รับเสื้อผ้ามานำเสนอเทรนด์ใหม่ๆ ซึ่งแบรนด์เหล่านี้จะเป็นแบรนด์ระดับ High-End ที่ห่างไกลจากสามัญชนทั่วไป ดังนั้นมันต้องใช้เวลาส่งต่อห่วงโซ่นี้กว่าจะไปถึง Street Influencer จนไปถึงคนธรรมดา
ซึ่ง UNLOCKMEN จะมาพูดตัวอย่างชัดๆ แบบ Life Cycle จากตัวอย่างเทรนด์เสื้อวงวินเทจ Oversize ที่คนเริ่มเทรนด์นี้คือ Jerry Lorenzo ดีไซเนอร์ซึ่งเป็นเพื่อนกับ Celebrity มากมาย เขานำเสื้อวงวินเทจแบบ Oversize มาใส่ และเริ่มทำแบรนด์ตัวเอง และส่งต่อให้ Endoser อย่าง Kanye West , Travis Scott , Justin Bieber ใส่ไปตามที่ต่างๆ รวมถึงงานคอนเสิรต์ จากนั้นภาพถูกถ่ายสู่สาธารณะชนจนเป็นแรกๆ มันจะดูเป็นเรื่องตลก เพราะเป็นเรื่องใหม่มีเพียงคนไม่กี่คนที่มองว่ามันสวย Step นี้เรียกว่า Ironic ( Innovator )
Step ที่ 2 มันเริ่มเป็นที่ต้องการในตลาด มีคนตามหาเสื้อแบบเดียวกับเหล่า Endoser ใส่ เช่นเดียวกับเคส Fear of God ของ Jerry Lorenzo ที่หายากแสนยาก และด้วยสนนราคาเสื้อยืดเก่าๆ ในราคาเกือบ 6 พันบาท คนธรรมดาคงจะใส่ได้ยากจะมีแต่กลุ่มคนคลั่งไคล้แแฟชั่นมากเป็น Trendsetter นำมันมาใส่ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ ช่วงนี้เรียกว่า Nostalgic ( Early Adopter )
ต่อมา Trends เริ่มแพร่ไปถึงคนจำนวนมากขึ้นมันถูกโปรโมตโดยสื่อ Bloger ที่บรรยายเล่า Story พยายามชักจูงว่ามันคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความมีเทสที่ดีหากคุณมีมัน คนในสังคมจะเริ่มเปลี่ยนทัศนะคติแล้ว เพียงแต่สินค้าเหล่านี้ก็ยังเป็นอะไรที่หายาก แถมราคายังสูงอยู่เลยยังไม่เป็น Mass ระยะเวลานี้เรียกว่า Conservative ( Early Adopter )
ดังนั้นต่อก็จะต้องไปพึ่งบริการของเหมือนหรือเพื่อมา Adapt รวมถึงแบรนด์ทางเลือกอย่างเช่น Zara , H&M ที่ทำเสื้อผ้ามาตอบโจทย์ Trend แต่มีราคาย่อมเยาว์กว่าจนกลายเป็นของที่คนทั่วไปสามารถพอจะหาซื้อได้ ช่วงนี้เรียกว่า Outsider ( Early Majority )
เข้าสู่ช่วงต่อมาคือ Precipine ( Late Majority ) หรือสัญลักษณ์แห่งความเท่ มันจะกลายเป็น Talk of the town ทุกคนพากันพูดถึงเทรนด์นี้ ก่อนมันจะข้ามไปเป็น Mainstream หรือไอเทมที่คุณต้องมีอย่างเช่น เสื้อวง Iron Maiden หรือ Metallica ในปัจจุบันที่ทุกคนมีติดบ้านไว้หนึ่งชิ้น และเริ่มหาได้ง่ายมากขึ้นไม่จำต้องขึ้นห้างเพื่อไปซื้ออีกต่อไป
จนมาถึง Step สุดท้าย Decline ( Laggards ) เมื่อสินค้ามันพีคมากๆ เหมือนฟองสบู่แตก ตัวสินค้าไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความมีรสนิยม รวมถึงความพิเศษอีกต่อไป เพราะโดย Inside มนุษย์ชอบอะไรที่ไม่เหมือนใคร อยากเป็นปัจเจกบุคคล เมื่อทุกคนมีใส่ เหล่ากลุ่ม Endorser ก็จะหาอะไรมาใส่ใหม่ เพื่อให้ไม่ซ้ำกับใคร มันก็จะวนลูปกลับไปที่ Ironic ใหม่
สุดท้ายแล้วจริงๆ Life Cycle ของวงการแฟชั่นทั้งผู้หญิงก็ไม่ได้ต่างอะไรกันมากมาย ขาวๆ ดำๆ สักพักก็สลับกับไปเป็นสีสัน แล้วก็เป็น ขาวๆ ดำๆ ใหม่อีกครั้ง แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างหญิงกับชายก็คือ เสื้อผ้าผู้หญิงจะ Out เร็วกว่าผู้ชายเพราะเพศชาย เป็นเพศที่มีความ Self สูงและไม่เอียนเอียงให้กับอะไรง่ายๆ แต่พอตัดสินใจเปลี่ยนแล้ว ก็ต้องใช้เวลานานกว่าความชอบนั้นจะเปลี่ยนไปอีกรอบ