Quantcast
Channel: Unlockmen
Viewing all articles
Browse latest Browse all 7738

ความสุขนั้นดื่มได้: คุยกับ ‘MURPHY L.C. CHANG’ตัวจริงเรื่องซิงเกิลมอลต์แห่ง GLENMORANGIE

$
0
0

ถ้าความสุขสามารถแปรรูปออกมาเป็นอะไรสักอย่างที่จับต้องได้ เราก็มั่นใจว่า “ซิงเกิลมอลต์”จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความสุขที่มนุษย์ผู้ชายอย่างเราสามารถดื่มด่ำมันได้ แต่สัญชาตญาณการดื่มอย่างมีระดับมักกระซิบบอกเราว่าแค่ดื่มมันไม่พอ เพราะ “ซิงเกิลมอลต์”ความสุขที่ดื่มได้ในมือเราจะยิ่งเพิ่มความลุ่มลึกซับซ้อนยวนใจให้ค้นหายิ่งขึ้นหากเราได้ดื่มด่ำเรื่องราวของมันไปด้วย

เมื่อต้องการรู้เรื่องซิงเกิลมอลต์อย่างรอบด้าน ชื่อแรกที่เรานึกถึงไม่อาจเป็นคนอื่นไปได้ นอกจาก “Murphy L.C. Chang” Moët Hennessy Brand Heritage Manager ผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีอยู่กับ Glenmorangie ซิงเกิลมอลต์ระดับโลกมามากกว่า 13 ปี

UNLOCKMEN จึงมั่นใจที่สุดว่าบทสนทนาครั้งนี้จะพาผู้ชายทุกคนเข้าสู่โลกแห่งซิงเกิลมอลต์ได้อย่างถึงแก่น ซิงเกิลมอลต์จะไม่ใช่แค่ความสุขที่ดื่มได้ แต่เป็นเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยิ่งรู้ก็ยิ่งช่วยยกระดับการดื่มให้ผู้ชายอย่างเราได้อย่างคาดไม่ถึง แต่ถ้าอยากรู้เรื่องซิงเกิลมอลต์ 101 ก่อนจะดำดิ่งสู่บทสนทนาครั้งนี้ เข้าไปอ่านก่อนได้ที่ SINGLE MALT 101: รู้จักโลก “ซิงเกิลมอลต์”แบบรอบด้านเพื่อการดื่มอย่างมีระดับของผู้ชาย แล้วมาฟัง Murphy L.C. Chang ไปพร้อม ๆ กัน

เรื่องเล่าซิงเกิลมอลต์ กว่าจะอยู่ในมือเราได้ผ่านอะไรมาบ้าง ?

ทุกอย่างล้วนมีที่มา ซิงเกิลมอลต์เองก็เช่นกัน นอกเหนือไปจากการรู้ว่าซิงเกิลมอลต์คืออะไรการได้รู้ว่าจุดเริ่มต้นของเครื่องดื่มชนิดนี้คือตรงไหน ก็ช่วยให้เราปะติดปะต่อเรื่องราวและดื่มด่ำมันอย่างเห็นคุณค่าได้มากขึ้น Murphy L.C. Chang เองก็ไม่ปฏิเสธที่จะไล่เรียงเรื่องราวของซิงเกิลมอลต์ให้เราฟังตั้งแต่ต้น

หากย้อนกลับไปก่อนปี 1823 ถือเป็นห้วงเวลาที่อังกฤษเก็บภาษีวิสกี้ที่มาจากสก็อตแลนด์แพงมาก แต่ด้วยรสชาติลุ่มลึกดึงดูดไม่ว่ารัฐบาลจะพยายามห้ามด้วยกฎหมายอย่างไร คนก็ยังซ่อนเอาไว้เพื่อหาทางขายอยู่ดี และเป็นที่ต้องการของผู้คน ในปี 1843 อังกฤษจึงตัดสินใจลดภาษีสก็อตวิสกี้ลง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมซิงเกิลมอลต์หลายแบรนด์ค่อย ๆ เริ่มต้นอย่างถูกกฎหมายหลังจากปี 1843

Glenmorangie เองเริ่มต้นขึ้นในปี 1843 แต่ถึงอย่างนั้นซิงเกิลมอลต์ก็ยังเป็นความสุขไม่แพร่หลายมากที่บริโภคกันภายในไม่กี่ประเทศ จนกระทั่งปี 1960 ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก แต่การพยายามปรับสูตรและรสชาติจนซิงเกิลมอลต์ขยายไปเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

อย่างไรก็ตามเส้นทางของซิงเกิลมอลต์ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นนัก ปี 1980 รัฐบาลอังกฤษปรับนโยบายใหญ่อีกครั้งจนโรงกลั่นซิงเกิลมอลต์หลายรายไม่อาจยืนต่อไปได้ แต่ไม่ใช่กับ Glenmorangie ที่นอกจากใส่ใจกับรสชาติ ยังเตรียมองค์กรให้พร้อมรับมือกับอุปสรรคที่คาดไม่ถึงจึงสามารถอยู่ได้ จนในทศวรรษที่ 90 กระแสซิงเกิลมอลต์ระลอกที่ 2 ก็ถือกำเนิดขึ้น จนเป็นเทรนด์ของนักดื่มเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่าซิงเกิลมอลต์ยังคงเป็นความสุขที่ดื่มได้ที่ยืนหยัดมาถึงผู้ชายอย่างเราในปัจจุบัน

กว่าจะมาเป็นซิงเกิลมอลต์ในมือเราจึงไม่ได้ราบรื่นง่ายดาย นอกจากกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันแล้ว ซิงเกิลมอลต์ยังพาตัวเองเดินทางผ่านอุปสรรคภายนอกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะ Glenmorangie ที่ปรับตัวกับสถานการณ์ผันผวนภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง

ซิงเกิลมอลต์ที่ดีคืออะไรกันแน่ ?

ตามประสาคนที่รู้เรื่องซิงเกิลมอลต์น้อยกว่า เราอดสงสัยไม่ได้ว่าซิงเกิลมอลต์ที่ดีมันควรเป็นแบบไหนกันแน่ ? และคำตอบของ Murphy L.C. Chang ก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง

“ถ้าเราพูดถึงสไตล์ มันไม่มีอะไรผิดหรือถูก มันขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพมันจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”

Murphy L.C. Chang เล่าให้เราฟังว่าเขามีโอกาสได้เป็นกรรมการตัดสินเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ครั้งหนึ่ง เขาจึงได้เดินเล่นกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ผลิตเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ระดับมาสเตอร์และนี่คือสิ่งที่เขาเรียนรู้มา ถ้าจำเป็นจะต้องนิยามจริง ๆ ว่าดีคือแบบไหน สำหรับเขามันสามารถนิยามจบได้ใน 6 คำใน 2 ระดับด้วยกัน ระดับแรกเมื่อคุณได้เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มาอยู่ในมือ ต้องดูความพิถีพิถัน รสธรรมชาติ ความใส ระดับต่อไปต้องดูความเข้มข้น ความซับซ้อน ความสมดุล

Murphy L.C. Chang บอกเราว่า Glenmorangie มีครบทั้ง 6 คำที่ประกอบกันออกมาเป็นซิงเกิลมอลต์ที่ดีตามนิยามนี้ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะเขาคิดเองแต่จากการประเมินของ Jim Murray’s Whisky Bible ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก คะแนนของ Glenmorangie พุ่งทะยานไปไกลถึง 97 คะแนน

มันอาจไม่แปลกที่เราชอบรสชาติหรือสไตล์ซิงเกิลมอลต์ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ถ้าว่ากันด้วยคุณภาพและความเป็นซิงเกิลมอลต์ที่ดี การได้ลิ้มรสซิงเกิลต์มอลต์คุณภาพที่ทั่วโลกยอมรับก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ผู้ชายไม่ควรพลาดในชีวิตนี้

ซิงเกิลมอลต์แบบไหนที่ใช่ ถ้าเพิ่งเริ่มต้นดื่ม ?

มันไม่มีอะไรตายตัวมากนัก แล้วแต่ความชอบและสไตล์ของโรงกลั่นแต่ละแห่งด้วย

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มมีระดับ รสชาตินุ่มลึก แต่ซิงเกิลมอลต์ก็ไม่ได้เข้าถึงยากสำหรับผู้เริ่มต้นดื่ม Murphy L.C. Chang ย้ำกับเราอย่างชัดเจนว่าจริง ๆ แล้วมันอาจไม่มีรูปแบบที่ตายตัวมากนักแล้วแต่ความชอบและสไตล์ของเรารวมถึงโรงกลั่นแต่ละแห่งด้วย แต่ถ้ากลัวจะเคว้งคว้างเกินไป เขาก็แนะนำกับเราง่าย ๆ ได้ใจความ

Murphy L.C. Chang บอกกับเราว่าอาจจะมีวิธีการดื่มซิงเกิลมอลต์หลายแบบ ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะชอบแบบไหน แต่ถ้าไม่อยากให้เสียรสชาติดั้งเดิมของซิงเกิลมอลต์ไปแม้แต่น้อย ไม่ควรใส่น้ำแข็งลงไปเลย

ส่วนจะเริ่มต้นขากขวดไหนนั้น ถ้าโรงกลั่นมีซิงเกิลมอลต์ 10 ปี เขาแนะนำว่าให้เราเริ่มต้นที่ 10 ปีก่อน และถ้าโรงกลั่นนั้นเริ่มต้นซิงเกิลมอลต์ที่ 12 ปี ก็เริ่มต้นที่ขวด 12 ปีนั้น ดังนั้นการลิ้มลองซิงเกิลมอลต์จากแต่ละโรงกลั่นจึงไม่ซับซ้อนมากนักสำหรับผู้ชายคนไหนที่เพิ่งเริ่มต้น เพียงหาซิงเกิลมอลต์ขวดที่อายุน้อยที่สุดของแต่ละโรงกลั่น แล้วเริ่มต้นที่ตัวนั้นก่อนจะไต่ระดับไปลิ้มลองตัวอื่น ๆ เพราะซิงเกิลมอลต์เหล่านี้จะบ่งบอกลักษณะเฉพาะของโรงกลั่นแต่ละโรงได้ดี

แต่ถ้ารสชาติของซิงเกิลมอลต์สามารถแบ่งได้ออกเป็น 100 ส่วน 50 ส่วนแรกอาจจะมาจากโรงกลั่น แต่อีก 50 จะมาจากถังบ่ม ถังที่มีความแตกต่างกันให้รสชาติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการลองซิงเกิลมอลต์ที่มีการหมักบ่มในถังรูปแบบต่าง ๆ ก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน

Murphy L.C. Chang แนะนำเพิ่มเติมว่าถ้าสนใจ Glenmorangie ก็ไม่ต้องลำบากใจ เริ่มต้นที่ Glenmorangie The Original ก่อนได้เลย แต่เขาแอบกระซิบแนะนำเพิ่มมาว่าสำหรับคนเอเชียอย่างเรา ๆ มักจะตกหลุมรักรสชาติซิงเกิลมอลต์ที่ผ่านการหมักบ่มในถังไม้โอ๊กที่เคยหมักไวน์ Sherry มาก่อนซึ่งจะให้รสชาติของผลไม้แห้ง แถมมีความเผ็ดของเครื่องเทศติดมาด้วย เราบอกได้เลยว่าไม่มีอะไรต้องลังเล Glenmorangie The Lasanta รอมอบความสุขแบบที่หาที่ไหนไม่ได้แล้วให้คุณอยู่ และในบรรดาซิงเกิลมอลต์ 12 ปีนี้ The Lasanta ได้คะแนนสูงแบบไม่เป็นสองรองใครซึ่งหาตัวจับยากจนไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

“ถ้าคุณได้ลอง คุณจะตกหลุมรัก The Lasanta แน่นอน”

เอกลักษณ์ของ Glenmorangie ที่ซิงเกิลมอลต์อื่นให้ไม่ได้

ยิ่ง Murphy L.C. Chang พูดถึง Glenmorangie มากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งห้ามใจไม่ให้อยากลิ้มลองซิงเกิลมอลต์ของ Glenmorangie ได้ยากมากขึ้นเท่านั้น จนเราอดสงสัยไม่ได้ว่าต้องใช้ความพิถีพิถันขนาดไหนกว่าที่ Glenmorangie จะเป็นซิงเกิลมอลต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขนาดนี้ ? และอะไรคือความพิถีพิถันที่ว่านั้น ?

Murphy L.C. Chang เริ่มต้นตอบเราด้วยการพูดถึงโรงกลั่นซิงเกิลมอลต์ ซึ่งมี 3 สิ่งหลัก ๆ ที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ น้ำ หอกลั่น และถังบ่ม แต่ในกรณีโรงกลั่นของ Glenmorangie ให้ความสำคัญเพิ่มอีกหนึ่งอย่างก็คือการบ่มแบบ Extra-Matured

การบ่มแบบ Extra-Matured ถือเป็นความพิเศษสุดของ Glenmorangie เพราะเป็นเจ้าแรกที่นำการบ่มแบบ Extra-Matured เพื่อเพิ่มมิติของรสชาติเข้าไปในซิงเกิลมอลต์โดยก่อนหน้านี้ซิงเกิลมอลต์จะถูกบ่มอยู่ในถังชนิดเดียวเท่านั้น แต่การบ่มแบบ Extra-Matured ของ Glenmorangie นั้นคือการนำซิงเกิลมอลต์ที่บ่มในถัง American Bourbon มาบ่มต่ออีกครั้งในถังไวน์ Sherry, ถังไวน์ Port, และ ถังไวน์ Sauternes เพื่อสร้างสรรค์รสชาติที่ชวนให้คนดื่มประทับใจ

นอกจากนั้น Glenmorangie ใช้น้ำที่มาจากบ่อน้ำผุด Tarlogie Springs ซึ่งมีความบริสุทธิ์มาก เนื่องจากน้ำต้องผ่านทั้งหินปูนและหินทราย กว่าจะผุดขึ้นมาเป็นบ่อน้ำผุดได้ที่สำคัญอุณหภูมิจะสูงกว่าน้ำที่มาจากทะเลสาบหรือลำธาร ทำให้ Glenmorangie มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะ โดยมีกลิ่นหอม ๆ อวลของผลไม้ ดอกไม้มากกว่าโรงกลั่นในละแวกเดียวกัน

Glenmorangie ยังพิถีพิถันเรื่องขนาดและรูปร่างของหอกลั่น ความแตกต่างที่ Glenmorangie โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดคือการมีหอกลั่นที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรมผลิตซิงเกิลมอลต์ โดยหอกลั่นที่มีความสูงถึง 5.14 เมตร หรือสูงเท่ากับยีราฟเพศผู้โตเต็มวัย ในขณะที่หอกลั่นอื่น ๆ มักมีความสูงราว ๆ 3 เมตรหรือต่ำกว่าเท่านั้น

หอกลั่นที่สูงนั้น ทำให้เราได้ Liquid ที่มีรสชาติ Pure และ Crips แต่หนักแน่นด้วยกลิ่นของผลไม้และดอกไม้ เพราะว่าไอของแอลกอฮอล์ที่มีกลิ่นเข้มและแรงจะมีน้ำหนักที่มาก จึงไม่สามารถระเหยขึ้นได้สูงได้ ดังนั้นจะมีแต่ไอที่เบาบางเท่านั้น ที่ลอยผ่านขึ้นไปได้

ในขณะที่ถังบ่มซิงเกิลมอลต์ Glenmorangie ก็ให้ความสำคัญมากกับเรื่องของถังไม้โอ๊กที่จะนำมาบ่ม เพราะว่าการบ่มนับเป็นขั้นตอนที่ส่งผลต่อรสชาติของวิสกี้มากที่สุด ดังนั้น Glenmorangie จึงเลือกที่จะดีไซน์ถังไม้พิเศษสำหรับ Glenmorangie เท่านั้น และ Glenmorangie จะบ่มซิงเกิลมอลต์ในถังไม้โอ๊คเพียง 2 ครั้งเท่านั้นเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุดเนื่องจากยิ่งใช้หลายครั้งรสชาติและกลิ่นก็จะยิ่งเข้มข้นน้อยลง จนสามารถพูดได้เลยว่า Glenmorangie เป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ใช้ถังบ่มในจำนวนครั้งที่น้อยขนาดนี้ ที่สำคัญ Glenmorangie จะใช้ถังไม้โอ๊กที่ผ่านการหมักบ่มมาก่อนแล้วไม่ว่าจะเป็นการหมักบ่ม Bourbon หรือไวน์ Sherry คุณภาพดีเพื่อส่งเสริมให้ซิงเกิลมอลต์มีรสชาตินุ่มลื่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของ Glenmorangie

Glenmorangie ยังเป็นซิงเกิลมอลต์จากเขต Highland ของสก็อตแลนด์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตะวันตกของประเทศ โดยเอกลักษณ์ของ Highland นั้นซิงเกิลมอลต์ที่ได้มีกลิ่นหอม ๆ อวลของผลไม้ ดอกไม้ ไม้โอ๊ก และกลิ่นควันที่ไม่หนักมาก

“จากออฟฟิศ Glenmorangie เราสามารถเดินไปริมฝั่งมหาสมุทรได้ภายใน 1 นาที ดังนั้นโรงกลั่นของ Glenmorangie จึงอยู่ในที่ที่มีความชื้นสูงกว่าและอุณหภูมิต่ำกว่าทำให้การบ่มและกระบวนการอื่น ๆ สร้างสรรค์ซิงเกิลมอลต์ที่นุ่มลึกไม่เหมือนใครออกมาได้”

Glenmorangie ไม่เพียงเป็นโรงกลั่นโรงแรกที่ใช้การบ่มแบบ Extra-Matured แต่ยังเป็นผู้ริเริ่มการใช้ถังไม้โอ๊กที่ผ่านการบ่ม Bourbon จนปัจจุบันโรงกลั่นกว่า 85% ในสก็อตแลนด์หันมาใช้ถังบ่ม Bourbon เช่นกัน

เรื่องราวของซิงเกิลมอลต์นับตั้งแต่ที่มา การเลือกดื่ม หรือซิงเกิลมอลต์ที่ดีเป็นอย่างไรจาก “Murphy L.C. Chang” Moët Hennessy Brand Heritage Manager ช่วยให้เราเข้าใจซิงเกิลมอลต์ได้ถึงแก่นมากขึ้น โดยเฉพาะความโดดเด่นและพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ซิงเกิลมอลต์ของ Glenmorangie ยิ่งทำให้เรารับรู้เลยว่ากว่าจะมาเป็นความสุขที่ดื่มได้ในมือของเรานั้นต้องอาศัยการควบคุมกระบวนการและปัจจัยซึ่งละเอียดอ่อน แต่ Glenmorangie ก็ทำออกมาอย่างละเมียดละไมจนออกมาเป็นซิงเกิลมอลต์ความสุขเหนือระดับที่เรากล้าเอ่ยปากว่าผู้ชายทุกคนต้องลิ้มลองให้ได้ในหนึ่งชีวิตนี้

เราเชื่อแล้วว่าความสุขนั้นดื่มได้จริง ๆ


Viewing all articles
Browse latest Browse all 7738

Trending Articles