Quantcast
Channel: Unlockmen
Viewing all articles
Browse latest Browse all 7776

“10 Best TED Talks”ที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจในเรื่องยากๆ ที่เคยเป็นปัญหา กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!

$
0
0

หลังจากที่คนเรา ลืมตาขึ้นหลังจากการนอนหลับในตอนเช้า เราก็ต้องเผชิญกับการตัดสินใจอย่างต่อเนื่อง แทบจะตลอดทั้งวัน แม้ว่าทุกการตัดสินใจจะมีขนาดไม่เท่ากัน ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แล้วแต่เรื่องราวที่เข้ามา แต่การตัดสินใจเล็กๆ ในบางครั้งก็ไม่ควรที่จะมองข้าม เพราะถ้าหากคุณตัดสินใจผิดพลาด จากเรื่องๆ เล็ก ก็อาจจะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่โต ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงกับชีวิตได้เช่นกัน และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลายๆ คน กลายเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเลย เพราะกังวลว่า จะตัดสินใจผิดพลาด และกลัวผลที่จะตามมาในภายหลังจนเกินเหตุ วันนี้เราจึงมี VDO ดีๆ ในการสร้างแรงบันดาลจากคนเจ๋งๆ ที่เรารู้คุ้นเคยกันอย่าง TED Talks มาทั้งหมด 10 อัน โดย TED Talks ที่เราหยิบมาให้ชาว UNLOCKMEN ได้ดูกันทั้งหมดในวันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก และช่วยทำให้คุณกลายเป็นคนที่ตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ดีขึ้น แถมยังลดข้อผิดพลาดที่จะตามมาได้อีกด้วย

Ruth Chang: When it comes to making hard decisions, reasoning is more than judging.

บ่อยครั้งที่เราต้องทำการตัดสินใจครั้งใหญ่อะไรบางอย่าง เรามักจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก และกดดัน นั่นก็เพราะว่า เราไม่มีความชัดเจนมากพอ ที่จะแยกแยะว่า สิ่งไหนดีกว่า แต่การที่เราช่างน้ำหนักก่อนการตัดสินใจได้อย่างชัดเจนว่า สิ่งไหนดี หรือไม่ดีนั้น ช่วยให้เป็นตัวของตัวเอง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเสมอ เพราะสิ่งที่เราคิดว่า ดี อาจจะไม่ได้ดีสำหรับคนอื่นก็ได้ ดังนั้น หากคุณเชื่อว่า สิ่งที่คุณกำลังจะตัดสินใจทำลงไป เป็นเรื่องเลวร้าย เพียงเพราะคำพูดของคนอื่น มันจึงอาจจะกลายเป็นผมเสียต่อตัวคุณเองในภายหลัง

“ส่วนหนึ่งที่เป็นเหตุผลในการช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้นก็คือ ทำในสิ่งที่ดีกว่า ไม่ใช่ทำในสิ่งที่เลวร้าย แม้มันอาจจะฟังดูยากที่จะเชื่อ แต่มันเป็นตัวกำหนดการสินใจที่ถูกต้องของคุณเสมอ” – Ruth Chang

Benedikt Ahlfeld: Most of the time, we underestimate the power of each decision we make.

การศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห้นว่า การตัดสินใจส่วนใหญ่ของคนเรา ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และไม่ค่อยมีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ Benedikt Ahlfeld จะสอนให้คุณ รู้จักการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการตัดสินใจ เพื่อเลือกในสิ่งที่ดีกว่า และเตือนให้เรา นึกถึงข้อจำกัดในการใช้อำนาจตัดสินใจอย่างถูกวิธี Benedikt Ahlfeld คือ 1 ในบุคคลอัจฉริยะ เค้าเป็น Entrepreneur พันธุ์แท้ด้วยตัวเองตั้งแต่มีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้น นอกจากนี้เค้ายังเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน จิตวิทยา ในเรื่องของการตัดสินใจโดยเฉพาะอีกด้วย

“บางครั้ง เมื่อคุณไปช็อปปิ้งที่ Ikea มันมีโอกาสที่จะจบลงโดยที่คุณอยู่ที่แคชเชียร์ พร้อมผลิตภัณฑ์อีก อีก 3 – 4 ชิ้น เกินมาบนเค้าเตอร์ ซึ่งมันไม่ได้อยู่ในแผนการที่คุณคิดเอาไว้ตอนแรก ที่จะมาซื้อของเพียงชิ้นเดียว” – Benedikt Ahlfeld

Angela Lee Duckworth: Grit: Always decide to rise.

เมื่อสิ่งต่างๆ กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายเรา เราต้องกล้าที่จะเผชิญหน้ากับมัน การตัดสินใจที่จะยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่ได้ลองทำ มันหมายความว่า คุณจะเป็นคนที่พบแต่ความพ่ายแพ้ไปตลอด อย่างไรก็ตาม ถ้าเราตัดสินใจที่จะลงมือทำ อย่างน้อยตอนท้ายที่สุด คุณก็จะทำมันได้อยู่ดีไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม นั่นก็เพราะว่า คุณจะมีเป้าหมาย และความพยายามเป็นแรงผลักดัน แม้ว่าครั้งแรกอาจจะไม่สำเร็จ แต่เมื่อคุณคิดว่า จะต้องทำสิ่งนั้นให้เกิดผลให้ได้ คุณก็จะไม่มีวันที่จะล้มเลิก ตราบใดถ้าการตัดสินใจคุณยังคงหนักแน่น ดังนั้นให้เวลากับมัน ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องรีบร้อน

“คุณต้องใช้ชีวิตเหมือนกับการวิ่งมาราธอน ที่ไม่ใช่การแข่งขันวิ่งด้วยความเร็ว” – Angela Lee Duckworth

Barry Schwartz: Limit your options for better decisions.

การมีตัวเลือกทำให้เรารู้สึกดี และมีความสุขเสมอ แต่ตัวเลือกที่มากเกินไป ก็สามารถทำให้รู้สึกตรงกันข้ามได้เช่นกัน  เนื่องจากการตัดสินใจเป็นที่ต้องใช้ความคิด และมักจะมีความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ มันจึงทำให้เรารู้สึกแย่ เมื่อเราตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งมันจะทำให้เราเครียดมากไปกว่าเดิม คนเราจึงกลัวการตัดสินใจ Barry Schwartz ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้อธิบายว่า ทำไมคนเราถึงกลัวการตัดสินใจกันนัก ในเชิงจิตวิทยา โดยที่จริงๆ แล้ว หากคุณเรียนรู้ที่จะคิดถึงผลที่ตามมาของการตัดสินใจนั้นๆ ก่อน คุณก็จะไม่กลัว และไม่ต้องผิดหวัง

“ในเมื่อกางเกงยีนส์ที่ขายอยู่ในท้องตลาด มีมากมายเป็นร้อยเป็นพันแบบให้คุณเลือกซื้อ และคุณก็รู้สึกผิดหวังที่ตัดสินใจซื้อตัวที่ไม่เหมาะกับคุณมา แน่นอน! มันทำให้คุณรู้สึกผิดหวังเป็นอันดับแรก แล้วคุณก็จะเริ่มตั้งคำถามว่าทำไม? ใครจะคนรับผิดชอบมัน”? – Barry Schwartz

Dan Gilbert: Examine your own goals and wants and decide what’s truly best for you.

คนเรามักคิดว่า การตัดสินใจที่ดีคือ สิ่งที่จะทำให้เรามีความสุขหลังจากที่ทำไปแล้ว ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเชื่อในการทำสิ่งที่รู้สึกว่ามีความสุขมากกว่าเหตุผล แต่น่าเสียดายที่มันเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะความเชื่อแบบนั้น จะเป็นบ่อเกิดของผลลัพธ์ในการตัดสินใจ ที่ผิดพลาดเสมอ เพราะความรู้สึกที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเหมือนจิตนาการเข้าข้างตัวเอง ไร้ซึ่งการคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผลอย่างชัดเจน แล้วทำไมล่ะ..ทำไม? ยังคิดว่า มันคือ การตัดสินใจที่ดีเพียงพอ? Dan Gilbert เป็นศาสตราจารย์ วิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้อธิบายการตัดสินใจผิดพลาด ด้วยการเชื่อเพียงความรู้สึกลมๆ แล้งๆ อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งงานวิจัยที่เค้าทำอยู่นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความสุขที่แท้ ของมนุษย์

“ผมกำลังบอกอะไรบางอย่างที่ตัวคุณเองก็รู้ดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ การเปรียบเทียบ ซึ่งมันเป็นเหมือนกับตาชั่ง ที่คนเราใช้ตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ ว่า สิ่งไหนมีค่ามากกว่ากัน” – Dan Gilbert

Sheena Iyengar: Look at the options objectively to make good decisions.

พวกเราต้องการตัวเลือก อันที่จริงในเศรษฐกิจยุคใหม่อย่างตอนนี้ เรามีตัวเลือกมากมายนัก ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะไตร่ตรองตัวเลือกต่างๆ ทีละตัวเลือกได้ จนทำให้บางครั้งเราก็ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างตัวเลือกทั้งหมด ว่ามันมีอะไรที่ต่างกัน เราจึงหันไปใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจแทน มันเป็นเหมือนการเดาข้อสอบ ที่ไม่รู้คำตอบที่ถูกต้องจริงๆ Sheena Lyengar เป็นศาสตราจารย์ในสาขธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัย Columbia Business School โดยเธอมองว่า ทัศนคติของคนเรานั้น มีผลต่อการเลือกตัดสินใจโดยตรง

“ตัวเลือกที่มากมายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า พวกเค้าคือใคร เหมือนกับเวลาเวลาที่เราว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ มีไว้ทำประโยชน์อะไรได้บ้างเท่านั้นเอง” – Sheena Lyengar

 Dan Ariely: We’re not as rational we we believe.

เมื่อเราต้องทำการตัดสินใจ เรามักจะเชื่อว่า เรามีอำนาจ อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่เรื่องจริงเลย มันเป็นเหมือนกับภาพลวงตาเท่านั้น เราต้องหากที่อยู่ภายใต้อำนาจของตัวเลือกต่างๆ จนบางครั้งอิทธิพลจากอำนาจเหล่านั้น ทำให้เราสับสนจากข้อมูลประกอบ(ความรู้สึกต่างๆ ที่คิด หรือกังวลไปเอง) ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง และอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นด้วยซ้ำ แม้แต่จิตใจของเราเองก็เช่นกัน ถ้าหาก ตัวเราเองยังคงไม่สามารถหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ ได้ ใจเย็นๆ อย่างเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจ จนกว่าจะวิเคราะห์ และหาเหตุผลให้แต่ละตัวเลือกที่อยู่ในหัว แล้วค่อยมานั่งดูอีกทีว่า อันไหนมันมีเหตุผลตรงใจ และถูกต้องมากที่สุด Dan Ariely นักเศรษฐศาสตร์ และนักสังเกตพฤติกรรมมนุษย์ จาก Duke University ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องของ ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำกหนมพฤติกรรมของมุนษย์ ได้อธิบายในเรื่องของ พฤติกรรมการตัดสินใจตามธรรมชาติเอาไว้ อย่างชัดเจน

“สัญชาตญาณของคนเรา เป็นเรื่องที่หลอกลวงตัวเราเอง ได้แนบเนียนที่สุด แต่มันสามารถเรียนรู้ได้ เพราะมันมักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ และคุณจะสามารถคาดเดามันได้ในที่สุดว่า มันจริง หรือ ไม่จริง สำหรับคนที่อาศัยการตัดสินใจ ด้วยความเชื่อในสัญชาตญาณตัวเอง” – Dan Ariely

Adam Grant: Sometimes, the decision of procrastinating intentionally leads to great ideas.

ถ้าพวกเราต้องการความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เราต้องเต็มใจที่จะลองทำในสิ่งที่เราไม่รู้มากขึ้นไปด้วย การผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นศัตรูของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ การตัดสินใจ ที่จะลงมือทำ และอะไรที่ชักนำให้เกิดการตัดสินใจที่จะนำไปสู่ Idea ที่ยอดเยี่ยม? ก็ความคิด และ เหตุผล ของตัวคุณเองไงล่ะ Adam Grant ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่ University of Pennsylvania เค้ากำลังสนใจว่า การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นแรงจูงใจให้คนเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นได้จริงหรือไม่ และอย่างไรบ้าง นับว่า เป็นความอยากรู้ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ

“การสงสัยเป็นเหมือน สารกระตุ้น มันเป็นสารกระตุ้น ที่จะทำให้คุณรู้จักที่จะพุ่งไปข้างหน้า เพื่อทดลอง ทดสอบ และปรับแต่งตัวคุณเอง และสิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม” – Adam Grant

Daniel Kahneman: Our life experiences and happiness affect how we make decisions.

ความสุข มีอิทธิพลมากอย่างที่คุณไม่รู้มาก่อน ต่อการตัดสินใจของคนเรา จากการเฝ้าสังเกตการณ์ที่ทำอย่างต่อเนื่อง และยาวนานพบกว่า มนุษย์เรา มองความสุขออกเป็น 2 รูปแบบ คือ “ประสบการณ์” และ “การจดจำ” คุณต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างของทั้ง 2 สิ่งนี้ และแยกมันให้ออก มันจะทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังตัดสินใจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง แล้วคุณจะตัดสินใจได้ง่ายมากๆ แม้ว่า การตัดสินใจนั้นจะเป็นสิ่งที่คนอื่นมองว่า ใหญ่หลวงก็ตามที Daneil Kahneman นักจิตวิทยาที่ Princeton University เค้าเป็นบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ และพฤติกรรม โดยเค้ามุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าเชิงจิตวิทยา ในเรื่องความเสี่ยงที่มนุษย์มัต้องเจอ และมักจะมองว่า มันเป็นปัญหากับชีวิต

“เหตุผลที่เราไม่สามารถคิดตื้นๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีความสุขได้ ก็เพราะว่า เรากำลังดำเนินชีวิตจริงๆ อยู่ มันไม่ได้มีเพียงความสุขอย่างเดียวเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต ภายใต้ความสุขยังคงมีความเศร้าประปนอยู่เสมอ นั่นแหละคือ ชีวิต ดังนั้น อย่างมอง ความสุขแบบตื้นๆ มันมีอะไรมากกว่านั้น” – Daneil Kahneman

Moran Cerf: Maybe, we don’t have that much control on our decisions.

คนเรามักชอบที่จะคิดว่า ตัวเองมีอิสระเสรี โดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจ และคิดว่า ก็ตัวเราเอง ที่เป็นคนรับผิดชอบการตัดสินใจ ทำไมจะรู้สึกเป็นอิสระไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การค้นพบล่าสุด เกี่ยวกับระบบประสาทวิทยา ได้ชี้ให้เห็นว่า การคาดเดาจะเกิดขึ้นก่อน การตัดสินใจล่วงหน้าอยู่หนึ่งช่วงตัวเสมอ นักวิทยาศาสตร์จึงหาสามารถลึกลงไปอีก จนพบว่า มีโอกาสเป็นไปได้ ที่คำตอบในการตัดสินใจนั้น จะเกิดจากการเดาสุ่ม และตัดสินใจโดยที่ไม่สามารถควบคุมตรรกะ และเหตุผลได้ อันมีสาเหตุมาจาก คำสั้นๆ นั่นก็คือ อิสระในการตัดสินใจ ที่ทำให้คนเรารู้สึกว่า ช่างมัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็รับผิดชอบมันได้ด้วยตัวเอง Moran Cerf เป็นศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา และธุรกิจที่ Kellogg School of Management เค้าทำการศึกษาเรื่องของระบบประสาท ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่า จริงๆ แล้ว คนเรามีอิสระในการตัดสินใจของเราจริงๆ หรือไม่อยู่ในขณะนี้

“เราติดอยู่ในหัวของเราเอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายในบางครั้งนั้น มันอาจจะไม่สามารถควบคุมได้ 100% นั่นก็คือ ความจริง แต่สิ่งที่เราควบคุม และเรียนรู้ที่จะควบคุมมันได้ก็คือ กระบวนความคิด จิต และประสาท มันเป้นสิ่งที่ทำให้เราสามารถควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ” – Moran Cerf

เราเชื่อว่า เรื่องที่เรานำเสนอให้กับชาว UNLOCKMEN ในวันนี้ จะเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ชีวิต ที่ต้องประกอบการตัดสินใจ แทบจะตลอดเวลาในแต่ละวันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ กับคนที่ต้องตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ อยู่เป็นประจำ กับคนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตัดสินใจ ว่ามันจะผิดพลาดรึเปล่า? อยากให้ทุกคนได้ลองดูบทความ และ VDO สั้นๆ เหล่านี้ แล้วคุณจะพบว่า มันไม่ได้ยาก เพียงแค่คุณเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจว่า การตัดสินใจที่ถูกต้อง เริ่มต้นจากตรงไหน และสิ้นสุดที่อะไร เท่านั้นเอง

SOURCE

 

 


Viewing all articles
Browse latest Browse all 7776

Trending Articles