เราเชื่อว่าหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเสื้อผ้า polo ชนิดหนึ่งที่มีโลโก้จระเข้ปักษ์อยู่บนอกว่าจริงๆ แล้วมีกี่แบรนด์ที่ใช้สัญลักษณ์นี้และใครเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงกันแน่ วันนี้ทีมงาน UNLOCKMEN ได้ไปสืบค้นประวัติเกี่ยวกับโลโก้ที่มูลค่ามากที่สุดในโลกอย่าง Crocodile มาฝากกันว่าใครคือตัวจริงเรื่องจระเข้
ย้อนกลับไปในยุค 1920s ชายที่ชื่อ René Lacoste กำลังโลดแล่นอยู่ในคอร์ตเทนนิสครองความยิ่งใหญ่ด้วยการคว้าแชมป์แกรนด์สแลมเป็นว่าเล่นจนในปี 1926 และ 1927 เขาก้าวขึ้นไปรั้งมือวางอันดับหนึ่งของโลก ด้วยลีลาการหวดลูกของเขาทำให้ใครหลายๆ คนพากันตั้งฉายาให้กับ René ว่า “The Alligator”
เมื่อข่าวลือเริ่มลอยว่าเขาทำแบรนต์เล่นกับกัปตันของฝรั่งเศส Davis Cup Team เกี่ยวกับกระเป๋าหนังจระเข้ โดยงบบริษัทได้มาจากที่กัปตันทีมไปทำสัญญาไว้กับผู้ผลิตกระเป๋าหนังจระเข้ว่าาหากเขาได้รับรางวัลการแข่งขันที่สำคัญมากสำหรับทีม จะนำมาเป็นงบสร้างบริษัท ซึ่งต่อมาทั้งคู่ชนะการแข่งขันและได้รับชื่อเสียงในอเมริกา
หลังจากที่ข่าวเกี่ยวกับการเดิมพันได้กระจายออกไป ชื่อเล่นได้เปลี่ยนไปเป็น “Le Crocodile” เนื่องจากเชื้อชาติฝรั่งเศส René และมาจากเกี่ยวกับตัวเขาที่ตัวเขาเป็นคนดื้อรั้นและมีพฤติกรรมก้าวร้าวในสนามเทนนิส ต่อมาเพื่อนของเขาที่ชื่อ Robert George ออกแบบโลโก้จระเข้ขนาดเล็กที่ติดอยู่บนเสื้อของ René เป็นการประกาศโลโก้ของเขาในขณะการเล่นเทนนิส
เมื่อเขาออกจากการเล่นเทนนิสในปี 1933 Lacoste ร่วมกับ André Gillier และเริ่มต้นก่อตั้ง บริษัท La Lacoste พวกเขาเริ่มการออกแบบเสื้อเทนนิสตามแบบฉบับของตัวเองสินค้าที่สร้างขึ้นเป็นเสื้อคอปกกับขาสั้น ออกแบบให้สวมใส่ในระหว่างการเล่นจับคู่กัน โดยเสื้อทำจากวัสดุผ้าเบามากๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการระบายอากาศสูงสุด ก่อนหน้าจะผลิตเสื้อแบบใหม่เหล่านี้ผู้เล่นเทนนิสมีประเพณีใส่เสื้อแขนยาวและเป็นผ้า ดังนั้นการออกแบบใหม่นี้จึงเป็นที่นิยมมาก อีกทั้งเขายังมีการนำเฉดสี rainbow ลงไปในเสื้อ polo ให้สามารถใส่ได้ในวันธรรรมดายิ่งทำให้ Lacoste ได้เครดิตไปเต็มๆ
แต่เมื่อเริ่มโด่งดังปัญหาก็เริ่มมาจากตรงจุดนี้ เพราะเมื่อนาย Vincent De Paul Draddy ประธานบริษัท David Crystal Inc, เข้ามาเป็นพันธมิตร เพราะมองเห็นว่าเสื้อ Polo Lacoste สามารถนำมาสร้างเป็นเทรนด์ให้แพร่หลายในอเมริกาได้ เขาจึงได้นำเสนอแบรนด์ IZOD เพื่อให้เป็นผู้ร่วมแบรนด์ในการบุกตลาดเสื้อผ้าอเมริกาและจะให้ใช้โรงงานในสหรัฐอเมริกาได้ ต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้ชื่อ IZOD Lacoste และแล้ว Lacoste ก็สามารถบุกตลาดอเมริกาได้สำเร็จอย่างเป็นทางการในปี 1963 ภายใต้ชื่อ IZOD LACOSTE
แต่ความไม่ลงรอยในรายละเอียดและธุรกิจก็เป็นที่มาของการแยกทาง เพราะเนื่องด้วยลักษณะทางวัฒนธรรม อเมริกันจะเน้นความเรียบง่าย รวดเร็ว สบาย แต่กับคนฝรั่งเศสที่ใส่ใจรายละเอียด เสื้อผ้าก็เหมือนจิตวิญญาณของพวกเขาทำให้ บวกกับในช่วงเวลานั้นในตลาดมีทางเลือกสำหรับเสื้อ polo มากขึ้นจนทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจแยกทางจากกัน และต่างฝ่ายก็ยังมีการผลิตเสื้อผ้าในลักษณะเดียวกันแถมสัญลักษณ์เดียวกันทำให้คนสับสนในช่วงแรกๆ
และอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีการนำโลโก้จระเข้มาใช้คือบริษัทจาก Hong Kong ที่ชื่อว่า Crocodile Garment ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นแบรนด์นี้เพราะมีขายตามห้างสรรพสินค้าบ้านเรา พวกเขาได้มีการนำโลโก้มาปรับเปลี่ยนเล็กน้อยอย่างเช่นดวงตาจระเข้ที่จะใหญ่กว่าของ Lacoste แถมทำกลับด้านกัน ก็ไม่แคล้วที่ว่าทั้งคู่ก็มีเรื่องการฟ้องร้องกัน จนในที่สุด Crocodile ต้องยอมแพ้แล้วปรับเปลี่ยนให้ต่างออกไปจนดูลักษณะผิดรูป ผิดร่าง แต่ก็ยังสามารถสร้างความสับสนให้กับลูกค้าได้
เห็นไม่ละครับว่าการทำธุรกิจเรื่องของ branding และ logo เรียกว่ามีส่วนสำคัญลำดับต้นๆ ทำไมถึงมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสนอกันจำนวนมหาศาล ดังนั้นหากชาว UNLOCKMEN ที่มีไอเดียอะไรดีอย่างนิ่งนอนใจขอให้ไปจดสิทธิบัตรอะไรให้เรียบร้อยจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายภาคหน้า แต่จากเรื่องนี้ต้องขอบอกว่า René Lacoste ก็เป็นบุคคลที่เก่งรู้จักดัดแปลงเอาเรื่องใกล้ตัวมาสร้างเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าการตลาดสูงที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลกได้